ประวัติความเป็นมา

      สถาบันวิจัยและนวัตกรรมได้รับอนุมัติจัดตั้งขึ้นในวันที่  23 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 จากการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกริก ครั้งที่ 4/2563 ตามเอกสารแนบระเบียบวาระที่ 5.14 โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 อาคาร ดร.สุวรรณี  

      สถาบันวิจัยและนวัตกรรม ยกระดับจากศูนย์วิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยเกริกที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2534 โดยมุ่งเน้นในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ด้านการวิจัย ทั้งงานวิจัยด้านองค์ความรู้และงานวิจัยด้านท้องถิ่น และในปี พ.ศ.2555 ศูนย์วิจัยฯ ได้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ด้านการวิจัยท้องถิ่น และได้สร้างผลงานด้านการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและองค์ความรู้มามากกว่า 30 โครงการ

          ในปีการศึกษา 2565 สถาบันวิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 6 โครงการ

ปรัชญา วัตถุประสงค์

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยเกริก

วิสัยทัศน์

       สถาบันวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเกริก จะเป็นองค์กรชั้นนำในการพัฒนาและหนุนเสริมการวิจัยและงานทางวิชาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งการบริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่ กลุ่มบุคคล องค์กร ชุมชน สังคม และประเทศทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหางวิทยาลัยเกริก คือภูมิปัญญาเพื่อสังคม (Wisdom for Society)

พันธกิจ

พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดด้านหนึ่งคือ “การวิจัย” ด้วยสังคมพลวัตรที่ปรับเปลี่ยนไปตามความเจริญของเทคโนโลยี “นวัตกรรม” คือสิ่งประดิษฐ์ใหม่แนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ ที่ได้จากผลของวิจัย ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สังคมให้เจริญรุดหน้าไปพร้อมคุณธรรมธรรมภิบาล ยังความมั่นคงยั่งยืนให้กับสังคมด้วย ดังนั้นทั้งการวิจัยและนวัตกรรมจึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก สถาบันวิจัยฯ จึงมีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านการวิจัย เพื่อการผลิตผลผลิตทางวิชาการ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการและการเขียนบทความด้านการวิจัย รวมทั้งการสร้างตำราการเรียนการสอน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเพิ่มขอบเขตการวิจัยให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งการบูรณาการงานวิจัยให้เข้ากับงานวิชาการด้านอื่นๆ

การจัดตั้งสถาบันวิจัยและนวัตกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัย เป็นไปตามความสอดคล้องและทิศทางในการพัฒนาของประเทศและพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการมุ่งส่งเสริมให้คณาจารย์มีโอกาสในการสร้างผลงานทางวิชาการด้านวิจัยมากขึ้น

โครงสร้าง

ขั้นตอนการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยและตำรา